วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม



1. บทนำ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การรับวัฒนธรรมที่แฝงเข้ามา
กับแหล่งข่าวสารข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรมของมนุษย์ โดยเฉพาะบนเครือข่ายสารสนเทศซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันทุกมุมโลก การเปิดรับข่าวสารที่มาจากแหล่งข้อมูลดังกล่าวจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ และทัศนคติส่วนบุคคล การรับข้อมูลข่าว สารที่ไม่เหมาะสมส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยเฉพาะ พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ และมีแนวโน้มทำให้เกิดอาชญากรรม ปัญหาทางศีลธรรมและจริยธรรม เช่น อาชญากรรมบนเครือข่าย หรือ การกระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อาชญากรรม 6 ประเภท ได้แก่ จารกรรมข้อมูลทางราชการทหารและข้อมูลทางราชการลับ จากกรรมทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลด้านธุรกรรม จารกรรมเงิน และทำให้เกิดการติดขัดทางด้านพาณิชย์ การโต้ตอบเพื่อการ ล้างแค้น การก่อการร้าย เช่น ทำลายข้อมูล ก่อกวนการทำงานของ ระบบ และเสนอข้อมูลที่ผิดและการเข้าสู่ระบบเพียงเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถทำได้

2. ผลกระทบองเทคโนโลยีสารสนเทศ



การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศจนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว่างขวางกลายเป็นยุคแห่ง
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือยุคข้อมูลข่าวสาร ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติอย่าง มหาศาลนั้นหมายถึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามย่อมมีผลกระทบต่อบุคคล องค์กร หรือสังคม ทั้งนี้สามารถจำแนกผลกระทบทั้งทางบวกและผลกระทบทางลบของการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.1 ผลกระทบทางบวก
1) เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริการและการผลิต ชีวิตคนในสังคมได้รับความ
สะดวกสบาย เช่น การติดต่อผ่านธนาคารด้วยระบบธนาคารที่บ้าน (Home Banking) การทำงานที่บ้าน
ติดต่อสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การบันเทิงพักผ่อนด้วยระบบมัลติมีเดียที่บ้าน เป็นต้น
2) เป็นสังคมแห่งการสื่อสารเกิดสังคมโลกขึ้น โดยสามารถเอาชนะเรื่องระยะทาง
เวลา และสถานที่ได้ ด้วยความเร็วในการติดต่อสื่อสารที่เป็นเครือข่ายความเร็วสูง
2.2 ผลกระทบทางลบ
1) ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรอยู่ก็
มักจะชอบทำอย่างนั้นไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรบุคคลวถิการดำ เนนิ ชวีตและการทำงาน ผูที้่รบั ต่อการเปลีย่ นแปลงไมไ ดจึ้งเกดิ ความวติ กกังกลขึ้นจนกลายเปน็ความเครียด กลัวว่า เครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์ทำให้คนตกงาน การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาแทนมนุษย์ในโรงงานอุตสาหกรรมก็เพื่อลดต้นทุนการผลิต และผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่มีการเปลี่ยนแปลงการ ทำงานความ เปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดความเครียด เกิดความทุกข์และความเดือดร้อนแก่ครอบครัวติดตามมา
           ในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ มนุษย์ได้รับประโยชน์มหาศาล และในขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีของชีวิตมนุษย์ และได้ก่อให้เกิดปัญหาสังคมขึ้นอย่างมากมาย การเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจในปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้ก็เพื่อที่มนุษย์ดำรงอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีใหม่นี้ได้อย่างชาญฉลาด การศึกษาหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จะต้องทำควบคู่กันไปกับการใช้ประโยชน์กับเทคโนโลยี ประเด็นเรื่องจริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญในการนำไปสู่ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา การสร้างวัฒนธรรมที่ดีในสังคมจะช่วยแก้ปัญหาสังคมเหล่านี้ได้ในระดับหนึ่ง และเมื่อปัญหามีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายมาใช้บังคับโดยในบทนี้จะกล่าวถึงมาตรฐานและกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่พึงรู้ประกอบด้วย

3. ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ


เราสามารถพิจารณาปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จากการวิเคราะห์ทัศนคติต่อ
เทคโนโลยีสารสนเทศ ในมุมมองที่แตกต่างกัน
3.1 มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์
เมื่อมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ เครื่องมือบางอย่างก็มีประโยชน์มาก บางอย่างก็
มีประโยชน์น้อย และบางอย่างก็ไม่มีประโยชน์ การเลือกใช้เครื่องมือจะส่งผลต่อวิธีการทำงานของมนุษย์ เช่นพฤติกรรมในการเขียนของผู้ใช้โปรแกรมประมวลผลคำจะแตกต่างไปจากผู้ใช้กระดาษ และปากกา
3.2 มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็มีกระทบซึ่งกันและกัน
ภายใต้มุมมองแบบนี้ มีความเห็นว่าสังคมส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยี ทั้งนี้โดยอาศัยแรงขับเคลื่อนทาง
วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ เป็นเหตุปัจจัยในการออกแบบเทคโนโลยียกตัวอย่างเช่น การออกแบบให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆ งานได้ในขณะเดียวกัน

4. แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

ดังที่กล่าวมาบ้างแล้วว่าเราไม่สารมารถถอยห่างจากเทคโนโลยีสารสนเทศได้ ยิ่งนับวันเทคโนโลยี
สานสนเทศ จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตมายิ่งขึ้น ทุกวันนี้มนุษย์ได้แปลงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เป็นปัญหาของตน ให้มาอยู่ในรูปแบบที่เป็นปัจจัยนำเข้าของระบบคอมพิวเตอร์แล้วเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งข้อมูลปัจจัยนำเข้าในลักษณะต่าง ๆ เหล่านั้นจะถูกประมวลผลให้เป็นสารสนเทศที่มนุษย์นำไปสร้างเป็นความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป อย่างไรก็ตามในสังคมทุกสังคมต่างก็มีคนทีและคนชั่วปะปนกัน เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและกานสื่อสาร เป็นประโยชน์ได้มากเพียงใด ก็สามารถถูกกำหนดหรือสร้างให้เป็นโทษได้มากเพียงนั้น การป้องกันภัยและการแก้ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นเรื่องที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในสังคมอย่าจริงจัง ในที่นี้จะเสนอแนวทางบางประการที่น่าจะช่วยลดปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศลงได้บ้าง

5.ประเด็นพิจารณาการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

5.1 ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และทฤษฎีเรื่องจริยธรรม
ในปัจจุบันยังมีข้อถกเถียงกันเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในเรื่องที่
เกี่ยวกับ ค่านิยม จุดยืน และสิทธิที่บุคคลพึงมีพึงได้ ตัวอย่างเช่น ข้อถกเถียงที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการใช้กล้องวงจรปิด การใช้คุกกี้ในอินเทอร์เน็ต ต่อสิทธิในเรื่องความเป็นส่วนตัวของมนุษย์ หรือข้อถกเถียงในเรื่องผลกระทบจากความแตกต่างในเรื่องชนชั้นทางสังคม ต่อสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล เช่น โอกาสในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของนักเรียนในชนบท หรือในกรณีข้อถกเถียงในเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ต่อเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น

6. การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในการแก้ไขปัญหาสังคมโดยทั่วไปนั้น การเสริมสร้างจริยธรรมในหมู่สมาชิกในสังคมเป็นทางแก้
ปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืนที่สุด แต่ความเป็นจริงนั้นเราไม่สามารถสร้างจริยธรรมให้กับปัจเจกบุคคลโดยทั่วถึงได้ ดังนั้นสังคมจึงได้สร้างกลไกใหม่ขึ้นไว้บังคับใช้ในรูปแบบของวัฒนธรรมประเพณีทีดีงาม อย่างไรก็ตามเมื่อสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้น รูปแบบของปัญหาสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นจะต้องตราเป็นกฎ ระเบียบหรือข้อบังคับ ในลักษณะต่างๆ รวมถึงกฎหมายด้วย ในกรณีของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ก็เช่นกัน การเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตทำให้รูปแบบของปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศมีความหลากหลายและยุ่งยากมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีกลไกในรูปของกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ใช้บังคับ ในประเทศไทยก็ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยได้มีการปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ระบุว่า “รัฐจะต้อง ... พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ”

7. กรณีศึกษาอาชญากรรมและกฎหมายไอที (http://www.lawyerthai.com/articles/it/006.php)


กรณีที่ 1 : นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา เปิด e-mail ลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาอ่านได้หรือ
ไม่?นการใช้งาน e-mail ภายในองค์กรนั้น จะมีคำถามว่า ถ้าองค์กรนั้น ๆ มีการกำหนด User name
และ Password ให้กับคนในองค์กร แล้วถ้านายจ้างหรือผู้บังคับบัญชารู้ User name และ Password ของ
คนในองค์กรแล้ว นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชามีสามารถเปิดอ่าน e-mail ของลูกจ้างได้หรือไม่ ถ้าในประเทศสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาขององค์กรนั้นๆ สามารถเปิดดูและตรวจสอบ e-mail ของลูกจ้างได้รวมทั้งสามารถดูแฟ้มข้อมูลต่างๆ ในฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของบริษัทได้ หากเป็น e-mail ที่เป็นขององค์กร เพราะเป็น e-mail สำหรับการปฏิบัติงาน แต่หากเป็น e-mail อื่นที่ไม่ใช่ขององค์กร นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดอ่าน หากนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาละเมิดสิทธิ์ ลูกจ้างสมารถฟ้องร้องนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาให้ชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งได้

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ

ความปลอดภัยของสารสนเทศ

1. ความปลอดภัยในด้านปกป้องข้อมูลเมื่อใช้อินเทอร์เน็ต



ปัจจุบันมีเครื่องที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีทรัพย์สมบัติทางด้านข้อมูลจำนวนมากอยู่บนเครือข่าย
เหล่านั้นซึ่งบนอินเทอร์เน็ต มีระบบที่ใช้ป้องกันไม่พอเพียงรวมทั้งผู้ไม่พอในการป้องกันตัวเองจากการถูกโจมตีจากผู้อื่นเช่นกัน ระบบของเราอาจจะโดนโจมตีได้ทั้งนี้เพราะการโจมตีเหล่านั้นมีเครื่องมือช่วยมากและหาได้ง่ายมาก
Denial of Service คือการโจมตี เครื่องหรือเครือข่ายเพื่อให้เครื่องมีภาระงานหนักจนไม่
สามารถให้บริการได้ หรือทำงานได้ช้าลง
- Scan คือวิธีการเข้าสู่ระบบโดยใช้เครื่องมืออัตโนมัติหรือเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อ Scan
สู่ระบบหรือหาช่องจากการติดตั้งหรือการกำหนดระบบผิดพลาด
- Malicious Code คือการหลอกส่งโปรแกรมให้โดยจริงๆ แล้วอาจเป็นไวรัส เวิร์ม ปละม้าโทรจัน
และถ้าเรียกโปรแกรมนั้น โปรแกรมที่แอบซ่อยไว้ก็จะทำงานตามที่กำหนด เช่น ทำลายข้อมูลในฮาร์ดดิสก์หรือเป็นจุดที่คอยส่งไวรัส 

2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Viruses)



หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ปรือชุดคำสั่ง ที่มนุษย์เขียนขึ้นมามีวัตถุประสงค์เพื่อรบกวนการ
ทำงานหรือทำลายข้อมูล รวมถึงแฟ้มข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ลักษณะการติดต่อของไวรัสคอมพิวเตอร์คือไวรัสจะนำพาตังเองไปติด (Attach) กับโปรแกรมดังกล่าวก็เป็นเสมือนโปรแกรมพาหะในกำนำพาไวรัสแพร่กระจายไปยังโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ หรือแม้กระทั่งแพร่กระจายในระบบเครือข่ายต่อไป
2.1 เวอร์ม (Worm)
เวอร์มหรือมาโครไวรัส (Macro Virus) หมายถึงโปรแกรมซึ่งเป็นอิสระจากโปรแกรมอื่นๆ โดยจะ
แพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ที่อยู่บนเครือข่ายการแพร่กระจายจะคล้ายกับ
ตัวหนอนที่เจาะไซหรือซอกซอนไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ และแพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอก (Copy) ตนเองออกและส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไป
2.2 โลจิกบอมบ์ (Logic bombs) หรือม้าโทรจัน (Trojan Harses)
หมายถึงโปรแกรมซึ่งถูกออกแบบมาให้มีการทำงานในลักษณะถูกตั้งเวลาเหมือนระเบิดเวลาโลจิก
บอมบ์ชนิดที่มีชื่อเสียงหรือมักกล่าวถึง มีชื่อว่า ม้าโทรจัน ซึ่งมีที่มาจากมหากาพย์เมืองทรอยในอดีตของโฮมเมอร์ และถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นชื่อของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้แฝงตัวเองเข้าไปในระบบและจะทำงานโดยการดักจับเอารหัสผ่านเข้าสู่ระบบต่างๆ และส่งกลับไปยังเจ้าของหรือผู้ส่ง เพื่อบุคคลดังกล่าวสามารถเข้าใช้หรือโจมตีระบบในภายหลังโปรแกรมม้าโทรจันสามารถแฝงมาได้ในหลายรูปแบบอาทิเช่น เกมส์ บัตรอวยพร หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมม้าโทรจันจะดูเสมือนว่าเป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์ แต่ในความเป็นจริงม้าโทรจันมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายโปรแกรมต่างๆ
2.3 ข่าวไวรัสหลอกลวง (Hoax)
เป็นไวรัสประเภทหนึ่งซึ่งมาในรูปของการสื่อสารที่ต้องการให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เข้าใจผิด มักถูกส่ง
มาในรูปแบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ข่าวไวรัสหลอกลวงมักมีผลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมาก การส่งข้อความต่อๆ กันไปผ่านทางโปรแกรมรับส่งข้อความ หรือห้องสนทนาต่างๆ ซึ่งสามารถสร้างความวุ้นวายให้เกิดขึ้นได้มากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับเทคนิคและวิธีการหรือจิตวิทยาของผู้สร้างข่าว โดยส่วนใหญ่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้จะมีหัวเรื่องที่น่าสนใจ

3. ฟิชชิ่ง (Phishing)


Phishing ออกเสียงคล้ายกับ fishing คือการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง โดยผู้ที่ทำการ
หลอกลวงซึ่งเรียกว่า Phishing จะใช้วิธีการปลอมแปลงอีเมล์ติดต่อไปยังผู้ใช้อินเตอร์เน็ตโดยหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจว่าเป็นจดหมายจากองค์กร หรือบริษัท ห้างร้านที่ผู้ใช้ทำการติดต่อหรือเป็นสมาชิกอยู่ โดยในเนื้อหาจดหมายอาจเป็นข้อความหลอกว่ามีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นและต้องการให้ผู้ใช้ยืนยันข้อมูลส่วนตัวอีกครั้ง ซึ่งก็จะเป็นข้อมูลส่วนตัวซึ่งเป็นความลับ และมีความสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้ระบบ Username รหัสผ่าน Password หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลบัญชีธนาคาร เป็นต้น หากผู้ใช้ได้รับอีเมล์ลักษณะดังกล่าวและหลงเชื่อดำเนินการตามที่มีอีเมล์ดังกล่าวระบุจะทำให้ผู้ที่สร้างอีเมล์หลอกลวงขึ้นมานี้ได้รับข้อมูลความลับส่วนตัวของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อไป และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปดำเนินการต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อได้ลักษณะของการหลอกดังกล่าว สามารถทำให้ผู้ใช้หลงเชื่อได้ง่าย เนื่องจากผู้ใช้อาจเป็นสมาชิกของบริษัทให้บริการอินเทอร์เน็ตหนึ่งๆ หรืออาจเคยไปทำการสั่งซื้อสินค้าจากเว็บหนึ่งๆ หรืออาจเคยทำธุรกรรมใดเกี่ยวกับบัตรเครดิต หรือบัญชีธนาคารผ่าอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้หลอกลวงอาจส่งข้อมูลมาแจ้งว่าจารการซั่งซื้อสิ้นค้าที่เว็บใดเว็บหนึ่งที่ผู้ใช้สั่งไปติดปัญหาข้อมูลการชำระเงินและให้ผู้ใช้ยืนยันข้อมูลบัตรเครดิตอีกครั้ง โดยการหลอกลวงนี้ก็จะมีการสร้างลิงค์ไปยังเว็บที่ถูกสร้างเลียนแบบขึ้นมา (Spoofed Website) โดยมีลักษณะเหมือนกับเว็บของบริษัท ห้างร้าน หรือองค์กรนั้นจริงๆ ซึ่งก็จะทำให้เหยื่อหลงเชื่อยิ่งขึ้น ส่วนวิธีป้องกันและแนวทางรับมือกับ Phishing มีดังนี้
1) ระวังอีเมล์ที่มีลักษณะในการข้อให้ท่านกรอกข้อมูลส่วนตัวใดๆ หรือยืนยันข้อมูลส่วนตัวใด ๆ
โดยส่วนใหญ่เนื้อหาในจดหมายจะระบุว่าเป็นจดหมายเร่งด่วน ให้ดำเนินการกรอกข้อมูลส่วนตัวบางอย่างหากพบอีกเมล์ลักษณะดังกล่าวให้ลบอีกเมล์ดังกล่าวทันที และอาจใช้การโทรศัพท์ติดต่อกับทางองค์กร บริษัทห้างร้านด้วยตนเองอีกทีหากมีข้อสงสัย
2) หากต้องการทำธุรกรรมใดๆ ควรไปที่ ไหรำโดยตรงโดยการพิมพ์ URL ใหม่
3) ไม่ควรคลิกที่ hyperlink ใดๆ หรือรันไฟล์ใดๆ ที่มากับอีกเมล์ หรือโปรแกรมสนทนาต่างๆ
จากบุคคลที่ไม่รู้จัก
4) ควรติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบไวรัส และ Firewall เพื่อป้องกันการรับอีเมล์ที่ไม่พึงประสงค์
หรือการสื่อสารจากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต
5) ควรติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงช่องโหว่ (Patch) ของซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่เราใช้งานอยู่ตลอดเวลา
6) ในการกรอกข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญใดๆ ที่เว็บไซต์หนึ่งๆ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นเว็บไซต์
ที่ถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งเว็บไซต์ที่ปลอดภัยจะใช้โปรโตคอล https:// แทน http://
7) ควรตรวจสอบข้อมูลบัญชีธนาคาร บัตรเครดิตต่างๆ ที่มีการใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นประจำ

5. ไฟร์วอลล์ (Firewall)


มาตรการหนึ่งที่ใช้ต่อสู้กับไวรัสคือ ไฟร์วอลล์ อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน
ในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์เป็นอย่างมาก โดยผู้คนเหล่านั้นต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายของตนเองกับอินเตอร์เน็ตเพื่อที่จะได้รับประโยชน์ต่างๆ เช่นเพื่อหาข้อมูลเพื่อทำการค้า เป็นต้น แต่การกระทำดังกล่าวทำให้ใครก็ได้บนอินเตอร์เน็ตสามารถเข้ามายังเครือข่ายนั้นๆ ได้ จึงเกิดปัญหาเรื่องความปลอดภัยของระบบเครือข่ายเช่นการถูกระบบ และขโมยข้อมูล เป็นต้น
ไฟร์วอลล์ คือ รูปแบบของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ที่ถูกจัดตั้งอยู่บนเครือข่ายเพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่อง
มือรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายภายใน (Internet) โดยป้องกันผู้บุกรุก (Intrusion) ที่มาจากเครือข่ายภายนอก (Internet) หรือเป็นการกำหนดนโยบายการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย โดยสามารถกระทำได้โดยวิธีแตกต่างกันไป แล้วแต่ระบบ
ถ้าผู้บุกรุกมาจากเครือข่ายภายในระบบนี้จะป้องกันไม่ได้ สิที่ป้องกัน เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus),
หนอนคอมพิวเตอร์ (worm), การโจมตีแบบ Dos (Denial of service), ม้าโทรจัน (Trojan Horse), ip
spoofing ฯลฯ โดยมีลักษณะการบุกรุกดังนี้ เช่น
- Virus จะแย่งให้หรือทำลายทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ เช่น ไฟล์ข้อมูล, แรมฯ
- Worm จะแย่งใช้ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ เช่นเขียนไฟล์ขยะลงบนฮาร์ดดิสก์ จนทำให้ฮาร์ดดิสก์เต็ม

6. พร็อกซี่ (Proxy)

เพื่อป้องกันระบบ Intranet ให้ปลอดภัย อาจมีการนำ Proxy เข้ามาทำงานร่วมกับไฟร์วอลล์โดย
เป็นการติดต่อผ่าน Proxy Serverในระบบ Intranet ใดๆ ที่มีการอนุญาตได้คอมพิวเตอร์แต่ล่ะตัวสามารถติดต่อ Internet Server และทรัพยากรต่างๆ ได้โดยตรงนั้นลักษณะเช่นนี้ทำให้ระบบมีความไม่ปลอดภัยอยู่ เช่น แฟ้มข้อมูลที่ดาวน์โหลดมาจาก Internet Server อาจมีไวรัสและทำลายแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น หรือทั้งระบบIntranet เลยก็ได้ นอกจากนี้เมื่อมีการอนุญาตให้ผู้ใช้เข้าถึง Internet Server ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ก็เป็นการยากสำหรับผู้ดูแลระบบที่จะป้องกันการบุกรุกระบบ Intranet หรือ Server ขององค์กรProxy Servers จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานทุกอย่าง ดังนั้นผู้ดูแลระบบสามารถที่จะตรวจสอบการบุกรุกได้นอกจากนี้ Proxy Servers ยังสามารถเก็บข้อมูลเว็บต่างๆ ที่เคยมีการร้องขอหรือบ่อยๆ หรือที่พึ่งทำการร้องขอไปไว้ในหน่วยความจำได้ ดังนั้นเมื่อมีการร้องขอเว็บดังกล่าวอีก Proxy server สามารถนำข้อมูลเว็บที่ได้เก็บไวในหน่วยความจำส่งให้กับคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอ โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อไปยังเว็บนั้น ซึ่งก็จะช่วยให้การตอสนองเป็นไปอย่ารวดเร็ว แต่อย่าไรก็ตามการนำข้อมูลเว็บที่มีอยู่ในหน่วยความจำมาแสดงเช่นนี้คงไม่เหมาะสำหรับ เว็บที่มีการปรับปรุงข้อมูลอยู่ตลอดเวลา เช่น เว็บที่นำเสนอข้อมูลปัจจุบัน ณ เวลานั้น เช่น เว็บตลาดหุ้น ซึ่งทำให้ผู้ใช้ได้รักข้อมูลที่ไม่ทันเหตุการณ์

7. คุ้กกี้ (Cookies)

ในการทำงาน Web Server ในบางครั้งก็มีการบันทึกข้อมูลลงในเครื่องของผู้ใช้อีกฝั่งซึ่งเป็นไฟล์ที่
อ่านจะมีข้อมูลสำคัญ จึงควรตระหนักถึงประเด็นนี้เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลให้ดี
Cookie คือแฟ้มข้อมูลชนิด Text ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ทำการจัดเก็บไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ของผู้ที่ไปเรียกใช้งาน
เว็บเซิร์ฟเวอร์นั้น ซึ่งข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ Cookie นี้จะเป็นข้อมูลที่เราเข้าไปป้อนข้อมูล เช่น ข้อมูลชื่อ นามสกุลที่อยู่ อีเมล์ ชื่อผู้ใช่ รหัสผ่าน หรือแม่แต่ รหัสบัตรเครดิตการ์ด ของเราเอาไว้ที่ไฟนี้ ซึ่งแต่ล่ะเว็บไซต์ เมื่อเราเข้าไปใช้งานเว็บไซต์ในครั้งถัดๆ ไป ก็สามารถดูข้อมูลจาก Cookie นี้เพื่อให้ทราบว่าผู้ที่เข้าใช้เป็นใคร และมีข้อมูลส่วนตัวอะไรบ้าง

8. มาตรการควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตจากภัยคุกคามด้านจริยธรรม


ปัจจุบัน ภัยคุกคามอันเกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีมากมาย หนึ่งในภัยจากอินเทอร์เน็ตคือเรื่อง
เว็บลามกอนาจาร ปัจจุบันมีความพยายามที่จะแก้ไขปราบปรามการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง โดยมีประเด็นนี้คือ“ผู้ใดประสงค์แจกจ่ายแสดง อวดทำ ผลิตแก่ประชาชนหรือทำให้เผยแพร่ซึ่งเอกสาร ภาพระบายสี
สิ่งพิมพ์ แถบยันทึกเสียง บันทึกภาพหรือเกี่ยวเนื่องกับสิ่งพิมพ์ดังกล่าว มีโทษจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ”โดยจะบังคับใช้กับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต เซิร์ฟเวอร์ รวมถึงสื่อทุกประเภทอย่างจริงจัง ตัวอย่าง
ซอฟต์แวร์เพื่อดูแลการแก้ไขและป้องกันภายทางอินเทอร์เน็ต ได้แก่ เอาส์ คีพเปอร์ (House Keeper) เป็น
โปรแกรมสำกรับแก้ปัญหา “ภาพลามกอนาจาร เนื้อหาสาระที่ไม่เหมาะสม การใช้เว็บไม่เหมาะสมไม่ควร
ฯลฯ” โดยนำไปติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน สารวัตรอินเตอร์เน็ตหรือไซเบอร์อินสเปคเตอร์เป็นอีกหน่วยงานที่สอดส่องภัยอินเทอร์เน็ต สารวัตรอินเทอร์เน็ตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้บล็อกเว็บไซต์ไม่เหมาะสมและเก็บฐานข้อมูลไว้

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 6 การประยกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน

การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน



1. บทนำ

แนวโน้มในอนาคตภายในครอบครัวจะมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น
เช่น โทรศัพท์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วีดิเท็กซ์ ไมโครคอมพิวเตอร์ ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศ
จึงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนับตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ และการสื่อสารสารสนเทศรวมทั้งการแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ซึ่งความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศสรุปได้ ดังนี้
- ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาซับซ้อน การจัดเรียง
ลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
- ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
- ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการจัดเก็บประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศ
- ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง
โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ
          บทบาทที่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนในการดำเนินชีวิตของเราไม่ว่าที่ทำงานหรือบ้าน ในชีวิตประจำวัน จะเห็นได้ว่า ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล และความสามารถในการส่งหรือการสื่อสารข้อมูลได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้วยวิวัฒนาการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ เช่น รายการจากข่าวโทรทัศน์ จะเห็นได้ว่าการสื่อสารที่นำข่าวจากจุดต่างๆ ทั่วโลกเข้ามาพร้อมกันในเวลาเดียวกัน สามารถสื่อสารโต้ตอบและส่งภาพถึงกันได้แม้ว่าจะอยู่คนละสถานที่ที่ห่างไกลกันมาก หรือการส่งข่าวสารในระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อความ ภาพ เสียง ไปให้ผู้อื่นได้ และสื่อสารโต้ตอบกันได้ในเวลาปัจจุบัน โดยเฉพาะระบบเครือข่ายสื่อสารที่เป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบันคือ ระบบ อินเตอร์เน็ต(Internet)

2. ขอบข่ายของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ



ขอบข่ายของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และกระบวนการหลาย
ด้าน เช่น การสื่อสารระบบดาวเทียม เทคโนโลยีการจัดการฐานข้อมูล การจัดพิมพ์ระบบอิเล็กทรอนิกส์ การประมวลผลตัวเลข การประมวลผลภาพ คอมพิวเตอร์สำหรับช่วยออกแบบและช่วยการผลิต (CAD/CAM)เป็นต้น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะประกอบด้วย
2.1 ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ใน
การปฏิบัติงานประจำ และทำการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และให้สารสนเทศสรุปเบื้องต้นของการปฏิบัติงานประจำวันโดยมากจะนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นระบบประมวลผลรายการนี้มักเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้าหรือบุคคลภายนอกมากติดต่อกับ กิจการ เช่น การจองบัตรโดยสารเครื่องบิน การฝาก-ถอนอัตโนมัติ
2.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) เป็นระบบ
สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง เพื่อใช้ในการวางแผน บริหารจัดการและควบคุมงาน โดยทั่วไประบบนี้จะเชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ในระบบประมวลผลเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ
2.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหาร
ในการตัดสินใจสำหรับปัญหาที่อาจมีโครงสร้างหรือขั้นตอนการหาคำตอบที่แน่นอนตายตัวเพียงบางส่วนหรือเป็นกรณีเฉพาะ นอกจากนี้ระบบนี้ยังเสนอทางเลือกต่างๆ ให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

3 .หน้าที่ของเทคโนโลยีสารสนเทศ



เทคโนโลยีสารสนเทศมีหน้าที่ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับ “สารสนเทศ” ตามที่ต้องการถ้าปราศจากเทคโนโลยีสารสนเทศแลว้ จะเปน็ การยากอย่างยิ่งในการสือ่ สารสารสนเทศทัง้ นี้เพราะในภาวะปัจจุบันมสี ารนิเทศจำนวนมากมายมหาศาล เพราะการเพิ่มปริมาณของเอกสาร อย่างล้นเหลือ (Publication Explosion) ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “INFORMATION EXPLOSION” ประกอบกับสภาพวะเงินเฟ้อ รวมทั้งความคาดหวังของผู้ใช้สารสนเทศที่ตื่นตัว และมีความต้องการสารสนเทศทั้งในแง่ของความรวดเร็วและความถูกต้อง จึงทำให้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์ต่อผู้ใช้สรุปได้ดังนี้
- ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันอย่างรวดเร็ว ทั้งโทรศัพท์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต ฯลฯ
- เทคโนโลยีสารนิเทศใช้ในการจัดระบบข่าวสาร ซึ่งผลิตออกมาแต่ละวันเป็นจำนวนมหาศาล
- ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างสะดวกไม่ว่าจะใช้กี่ครั้งก็ตาม
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรในด้านการคำนวณ
ตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
- ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารสนเทศ
- สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองผลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
- อำนวยความสะดวกใน “การเข้าถึงสารสนเทศ” (ACCESS) ดีกว่าสมัยก่อนทำให้บุคคลและองค์กร
มีทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า
- ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ

4. การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ


การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาหลายเรื่องด้วยกันได้แก่
4.1 การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศด้านใดบ้างที่จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานจะเห็นแล้วว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นสามารถนำไปประยุกต์ได้หลายด้าน
4.2 การวางแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยงานขนาดใหญ่ระดับกระทรวง กรม หรือ
บริษัทขนาดใหญ่จำเป็นจะต้องมีแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
4.3 การกำหนดมาตรฐาน เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกัน
ระหว่างหน่วยงานต่างๆ มาตรฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีอยู่หลายเรื่อง
4.4 การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เราควรลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากสักเท่าใด

5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ จะมีลักษณะเป็นแบบการประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะในสภาพสังคม
ปัจจุบัน มนุษย์สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยปฏิบัติงานในด้านต่างๆ
5.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำ
เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้องและสามารถจัดพิมพ์ฉบับได้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น
ซึ่งการประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้ในหลายลักษณะ เช่น งานจัดเก็บเอกสาร ได้แก่ การใช้เครื่อง
ประมวลผลคำ(Word Processing) เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียมอุปกรณ์ประกอบการใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างแผนกหรือระหว่างหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกที่อยู่ห่างไกล ระบบประมวลผลคำนี้จำแนกได้ 2ระบบคือ ระบบ Stand - Alone เป็นระบบที่สามารถประมวลผลได้ภายในคอมพิวเตอร์ชุดเดียว โดยไม่ผ่านช่องทางการสื่อสาร และระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงสารสนเทศซึ่งกันและกันผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์, เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ เครือข่ายสารสนเทศเป็นต้น
5.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งนำ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) เข้ามาช่วยจัดการด้าน
ผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ ในโรงงาน MIS จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผน การออกแบบผลิตภัณฑ์ การวิจัยเพื่อพัฒนา และมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการปฏิบัติการของเครื่องจักรในโรงงาน ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม
5.3 การประยกุ ตใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงนิ และการพาณชิ ย์ สถาบนั การเงนิ เชน่ ธนาคาร
ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝากถอน โอนเงิน ในส่วนของงานประจำธนาคารต่างนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยปฏิบัติงาน ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลธนาคารเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ทุกสาขาสามารถเชื่อมโยงกับสาขาอื่นหรือสำนักงานใหญ่ และสามารถเชื่อมโยงกับธนาคารอื่นได้

6. ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software)


6.1 ความหมาย
ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม คือซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้คนสามารถนัดพบปะ เชื่อมสัมพันธ์หรือทำงาน
ร่วมกันโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง เกิดเป็นสังคมหรือชุมชนออนไลน์ คำนี้มีความหมายมากกว่าสื่อเก่าๆอย่าง Mailing List และ UseNet กล่าวคือหมายรวมถึง E-mail, msn, instant messaging, web, blog
และ wiki สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานร่วมกันเรียกว่า collaborative software
6.2 ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
เครื่องมือซอฟต์แวร์สังคม สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร
และเครื่องมือเพื่อการจัดการความรู้
1) เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร
สองฝ่ายไม่พร้อมกัน (asynchronous) คือไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากัน ตัวอย่างเช่น การใช้ E-mail , Web
board , Newsgroup เป็นต้น และอีกประเภทหนึ่งคือ เครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสารคนสองคนหรือเป็นก
ลุ่มแบบสองฝ่ายพร้อมกัน (synchronous ) เช่น การสนทนาผ่านโปรแกรม Chat , ICQ , MSN
2) เครื่องมือเพื่อการสร้างการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในกลุ่มที่ใช้เพื่อประโยชน์
เพื่อการจัดการความรู้ มีหลายอย่าง โดยแบบเบื้องต้นเช่น การสืบค้นข้อมูล ส่วนในระดับถัดมา เป็น
เครื่องมือเพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกัน รวมทั้งให้ความรู้ และสร้างความรู้ใหม่ เช่น Wiki , Blog เป็นต้น

7. การสืบค้นสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต


อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ จนได้รับสมญานามว่า “ห้องสมุดโลก” ซึ่งมีข้อมูล
หลากหลายประเภทและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในการที่เราจะค้นหา ข้อมูลที่ต้องการได้
อย่างรวดเร็วนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับแหล่งข้อมูลนี้ นั่นคือ มักประสบปัญหาไม่ทราบ
ว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นอยู่ในเว็บไซต์ใด ดังนั้นจึงได้มีเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า เครื่องมือช่วยค้น หรือ เซิร์ชเอ็นจิน (Search Engine) ในการสืบค้นข้อมูลนั้นถ้าหากเราทราบแหล่งข้อมูลหรือเว็บไซต์ เราก็สามารถพิมพ์หรือระบุ URL ในช่อง Address ได้เลย แต่ถ้าหากเราไม่ทราบว่าแหล่งข้อมูลนั้นอยู่ที่ใด เราสามารถใช้เว็บไซต์ที่เป็น Search Engine ช่วยในการค้นหาได้อย่างรวดเร็ว