วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 1 แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่


บทที่1

แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่    
 
   1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ
ที่มา :  http://4.bp.blogspot.com/-dulMnzn9Vl8/UDG7c1wKsPI/AAAAAAAAADs/_0NB_Z_p3mU/s1600/news_img_89923_1.jpg

              ด้วยปัจจุบันนี้เป็นยุคข้อมูล ข่าวสาร และความรู้หรือบางคนอาจกล่าวว่าเป็นยุคของสังคมสารสนเทศ
นั่นเอง ที่มีการศึกษาค้นคว้า วิจัยและทดลองในสาขาวิชาต่างๆมากมาย ทำให้เกิดมีความต้องการใช้ ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้ออำนวยให้เพิ่มปริมาณสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว

       2. ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ หรือสารนิเทศ (Information) เป็นคำเดียวกันซึ่งสามารถให้ความหมายอย่างกว้างๆ
ว่าหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็มีความ
หมายในเชิงลึกว่า หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่ผ่านการประมวลผล ซึ่งมีความหมายและสามารถนำไปใช้ใน การตัดสินใจในชีวิตประจำวัน หรือการทำงานนั้นๆ

        3. ความสำคัญของสารสนเทศ
สารสนเทศเป็นปัจจัยที่สำคัญในโลกปัจจุบันนี้ ทั้งนี้เพราะการกำหนดแนวทางพัฒนา นโยบายทาง
ด้านการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม และวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์และสังคมเพื่อเสริมสร้างความรู้อันที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตทั้งด้านการงานนั้น อีกทั้งเป็นแนวทางในการแก้ไข ปัญหา ช่วยในการวางแผน และช่วยตัดสินใจ อย่างเช่นหากผู้ใดที่รู้จักใฝ่เรียนรู้และได้รับสารสนเทศที่ดี มีคุณค่าและมีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ย่อมมีชัยชนะเหนือผู้อื่น ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต
         4. ประเภทของสารสนเทศ

1. สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือ
จัดกระทำกับสารสนเทศ
         1.1 แหล่งปฐมภูมิ (Primary Source) คือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง

         1.2 แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) คือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่
จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ

         1.3 แหล่งตติยภูมิ(Tertiary Source) คือ สารสนเทศที่จัดทำเพื่อใชใช้
ในการค้นหาสารสนเทศ
จากแหล่งปฐมภูมและทุติยภูมิ จะไม่ได้ให้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ บรรณานุกรม

         2. สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ใน
การบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ได้แก่ กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อแสง

    2.1 กระดาษ
    2.2 วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่างๆ
    2.3 สื่ออิเล็กทรอนิกหรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถ
บันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวก
    2.4 สื่อแสงหรือสื่อออปติก (Optical Media) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูล
ด้วยแสงเลเซอร์ เช่น ซีดี-รอม ดีวิดี เป็นต้น ซึ่งมีความจุมากเป็นพิเศษ

          5. คุณสมบัติของสารสนเทศ
สารสนเทศมีความจำเป็นในการดำเนินชิวิต การบริหารจัดการและใช้ในการวินิจฉัยสั่งการ รวมทั้งใช้ในการตัดสินใจในการทำงานและดำเนินชีวิต
1) สามารถเข้าถึงได้ง่าย (Accessibility)
2) มีความถูกต้อง (Accurate)
3) มีความครบถ้วน (Completeness)
4) ความเหมาะสม (Appropriateness)
5) ความทันต่อเวลา (Timeliness)
6) ความชัดเจน (Clarity)
7) ความยืดหยุ่น (Flexibility)
8) ความสามารถในการพิสูจน์ได้ (Verifiability)
9) ความซ้ำซ้อน (Redundancy)
10) ความไม่ลำเอียง (Bias)

ที่มา ; http://3.bp.blogspot.com/-Pd0E25KTTuo/UVhXn-uT0jI/AAAAAAAAAA0/vTk0cgLIeTY/s1600/Service-informatiom.jpg
          6. แหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
แหล่งสารสนเทศ หมายถึงแหล่งที่เกิด แหล่งที่ผลิต หรือแหล่งที่จัดเก็บและให้บริการทรัพยากร
สารสนเทศ ในรูปแบบที่หลากหลายอย่างเป็นระบบและยังเป็นแหล่งที่ทำการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางปัญญา
โดยมีบทบาทหน้าที่ต่อสังคมเพื่อการบริการสารสนเทศและส่งเสริมการศึกษา

     1) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน หมายถึง สถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อ จัดหา รวบรวมวัสดุสารสนเทศ
ชนิดต่าง ๆ มาจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้บุคคลมาศึกษาหาความรู้จากวัสดุสารสนเทศเหล่านั้น ตัวอย่าง เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ

     2) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ คือ แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่จริง หรือสถานที่จำลอง ซึ่ง
ผู้ใช้สามารถไปศึกษาหารความรู้จากตัวสถานที่เหล่านั้น เช่น ปราสาทเขาพระวิหาร สวนส้ม ไร่นาสวนผสม

     3) แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รอบรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญบางสาขา
วิชาจะมีผลงานเป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถค้นคว้าได้ด้วยตนเอง แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ไม่มีผลงานในลักษณะของวัสดุสารสนเทศ

     4) แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ ได้แก่กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น 14 ตุลา ในปี พ.ศ. 2516
พฤษาทมิฬ ในปี พ.ศ. 2535 เหตุการณ์ 911 หรือ การก่อการร้ายตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์

     5) แหล่งสารสนเทมศสื่อมวลชน ซึ่งเป็นแหล่งที่มุ่งเผยแพร่สารสนเทศ ที่เป็นเหตุการณ์ ข่าวสาร โดย
เน้นความทันสมัยต่อเหตุการณ์ เป็นการถ่ายทอดในรูปของการกระจายเสียง ภาพและตัวอักษรโดยผ่านสื่อประเภทวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์

     6) แหล่งสารสนเทศที่เป็นอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้เนื่องจากทั้งหน่วยงานของภาครัฐ เอกชน รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า การค้าขาย และธุรกิจต่างๆ

        7. ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources or Information Materials)
ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุหรือสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ และ
ความคิดต่างๆ หรืออาจเรียกว่า วัสดุสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed
Materials) ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (Non printed Materials) และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media)

          7.1 ประเภทและชนิดของทรัพยากรสารสนเทศ
           1) ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed Materials) - หนังสือพิมพ์ (Newspapers)- จุลสาร (Pamphlet)- กฤตภาค (Clipping)

           2) ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (Non-print Material) คือทรัพยากรสารสนเทศที่มีลักษณะสำ�คัญ ที่
แตกต่างจากทรัพยากรตีพิมพ์ ที่ให้สารสนเทศ ความรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู ตา- ทัศนวัสดุ (Visual Materials)- โสตวัสดุ (Audio Materials)- โสตทัศนวัสดุ (Audiovisual Materials)

           3) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Materials) หมายถึง การจัดเก็บสารสนเทศที่อยู่ในรูปของ
ดิจิทัล (Digital)- ฐานข้อมูลออฟไลน์ (Offline Database)- ฐานข้อมูลออนไลน์